เปิดเหตุผลทำไมดอลลาร์ ยังเป็นสกุลเงินหลักของโลก

จำนวนประเทศต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่บราซิลไปจนถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเรียกร้องให้การค้าระหว่างประเทศหันไปใช้สกุลอื่นๆนอกเหนือจากดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐได้ครองตำแหน่งสกุลเงินการค้าหลักของโลกมานานหลายทศวรรษ เนื่องจากไม่เพียงแต่ว่าสหรัฐมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่เพราะน้ำมัน ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญที่ทุกประเทศไม่ว่าเล็กหรือใหญ่จำเป็นต้องใช้ มีราคาที่ซื้อขายกันในสกุลเงินของสหรัฐ

นอกจากนั้น การซื้อขายสินค้าโภณภัณฑ์อื่นๆ ส่วนใหญ่ก็ทำกันในรูปดอลลาร์

แต่เมื่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างขนานใหญ่และต่อเนื่องเพื่อสกัดเงินเฟ้อในปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติของหลายประเทศทั่วโลกต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยตามเพื่อพยายามสกัดการไหลออกของเงินทุนกลับไปยังสหรัฐและชะลอการอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วของสกุลเงินของตน

เซดริค ชาฮับ ของบริษัทวิจัย Fitch Solutions กล่าวว่า “ถ้าประเทศต่างๆ สามารถกระจายสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศในพอร์ตออกไปเป็นหลายๆ สกุล มันอาจจะลดแรงกดดันต่อเงินสำรองในพอร์ตนี้ได้”

ข้อเท็จจริงที่ควรจะย้ำคือ ดอลลาร์สหรัฐยังคงเป็นสกุลหลักที่ครอบงำพอร์ตเงินสำรองของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ ถึงแม้สัดส่วนของดอลลาร์ในเงินสำรองเหล่านี้จะได้ลดลงจากระดับกว่า 70% ในปี 1999 ทั้งนี้ตามข้อมูลของ IMF

ในไตรมาส 4 ของปี 2022 ตัวเลขนี้ได้ลดลงมาเหลือ 58.36% ในขณะที่เงินยูโรอยู่ในอันดับ 2 ที่ถูกทิ้งห่างมาก คือมีสัดส่วนเพียงประมาณ 20.5% และสกุลเงินหยวนของจีน มีสัดส่วนเพียง 2.7% เท่านั้น

จีนเป็นประเทศที่ได้เคลื่อนไหวมากที่สุดในเรื่องนี้ เนื่องจากบทบาทของตนในฐานะการเป็นผู้นำทางการค้าของโลก รวมทั้งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกด้วย

ข้อมูลการค้าปี 2022 ของ IMF ชี้ว่าจีนเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุด สำหรับ 61 ประเทศทั่วโลก ในขณะที่สหรัฐมีฐานะเดียวกันกับเพียง 30 ประเทศเท่านั้น

คุณชีฮับ กล่าวกับ CNBC ว่า “ในขณะที่พลังทางเศรษฐกิจของจีนยังจะมีมากขึ้นต่อเนื่อง มันคงจะเพิ่มบทบาทอิทธิพลในสถาบันการเงินและการค้าต่างๆ ของโลกด้วย”

จีน ซึ่งเป็นประเทศที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมากเป็นอันดับ 1 หรือ 2 มาโดยตลอด ได้ค่อยๆ ลดปริมาณการถือครองตราสารหนี้เหล่านี้ของสหรัฐลงอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเดือน ก.พ. ปีนี้ จีนถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นมูลค่าเกือบ 849,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา

ที่มา: https://www.cnbc.com/…/economic-and-political-factors…

LATEST NEWS

“Smarthome” สมาร์ทโฮมยืนหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับทุกครอบครัว

เมื่อพูดถึงแแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เชื่อว่าใครหลายๆ คน คงจะนึกถึงแบรนด์ “Smarthome” เป็น 1 ในคำตอบในใจอย่างแน่นอน ด้วยจุดเด่นของสินค้าที่แข็งแรง ทนทาน ดีไซน์ทันสมัยและราคาที่สามารถเข้าถึงได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับแบรนด์ “Smarthome” กันให้มากยิ่งขึ้น

บิ๊กดีลสะเทือนวงการ! กรุงศรีฟินโนเวตจับมืออีฟราสตรัคเจอร์ เปิดฉากลงทุนมหาศาลปั้นกองทุนใหม่หนุนสตาร์ทอัพรายเล็กก้าวกระโดด พร้อมเปิด Accelerator ติดอาวุธเร่งสปีดสร้างการเติบโต

กรุงศรี ฟินโนเวต ร่วมกับ อีฟราสตรัคเจอร์ (Efra Structure) ของ ป้อม ภาวุธ ผู้บุกเบิกและคร่ำหวอดในวงการอีคอมเมิร์ซไทย เตรียมปั้นกองทุนยักษ์ “ฟินโน อีฟรา ไพรเวท อิควิตตี้ ทรัสต์” (Finno Efra Private Equity Trust) มุ่งลงทุนในสตาร์ทอัพไทยและอาเซียน งบประมาณมหาศาลกว่า 1,300 ล้านบาท (หรือกว่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในระยะเวลา 4 ปี เผยเริ่มพูดคุยกับสตาร์ทอัพที่น่าสนใจแล้วราว 5-6 บริษัท พ่วงด้วยการเปิด Accelerator Program อย่างเป็นทางการ เพื่อปั้นสตาร์ทอัพระดับ Seed ถึง Pre-series A ให้เติบโตสู่ระดับ Series A ได้อย่างแข็งแกร่ง

SCB CIO มองตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวน เมื่อเข้าสู่โค้งสุดท้ายเลือกตั้งสหรัฐฯ พอร์ตหลักแนะหุ้นกลุ่มเทคฯ-สุขภาพ- สาธารณูปโภค-ทองคำ ส่วนพอร์ตเสริมสะสมเวียดนาม

SCB CIO มองตลาดหุ้นโลกจะมีความผันผวนเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากสถิติชี้ว่า ดัชนี VIX  จะเร่งตัวขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วง 4 เดือนสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ขณะที่สถิติในอดีตบ่งชี้ดัชนี S&P500 มีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงเดือนส.ค.- ก.ย. แนะกลยุทธ์ลงทุนในตลาดหุ้นเลือกหุ้นคุณภาพดีเติบโตสูงงบแข็งแกร่งยอดขายกำไรเติบโตยั่งยืนเช่นกลุ่มเทคโนโลยีพร้อมผสมผสานกับหุ้นกลุ่มที่มีความทนทานต่อภาวะตลาดผันผวนเช่นกลุ่มสาธารณูปโภค  สุขภาพและสินค้าจำเป็น พร้อมระวังลงทุนในหุ้นกลุ่มขนาดเล็กจากกำไรของกิจการของหุ้นขนาดเล็กค่อนข้างผันผวนและอิงกับเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นหลักซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ช่วงของการชะลอตัวลง สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง-สูง แนะลงทุนหุ้นเวียดนามจากดัชนีฯที่ได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจที่เติบโตต่อเนื่อง

RELATED