บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ชี้แจงว่า ตามที่ปรากฏรายงานข่าวจากสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 เกี่ยวกับกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ได้มีมติชี้มูลความผิดต่อ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับพวกรวม 12 คน ซึ่งรวมถึง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ หรือ BTSC) นายคีรี กาญจนพาสน์ และนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ในฐานะกรรมการของบริษัทฯ (“BTSC และผู้บริหาร”) เกี่ยวกับกรณีการทำสัญญาให้บริการเดินรถ และซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายตั้งแต่ปี 2555 (“สัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย”) นั้น
บริษัทฯ ขอเรียนว่า บริษัทฯ ยังไม่ได้รับการยืนยันในเรื่องการชี้มูลความผิดดังกล่าว จากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามที่ปรากฏในข่าวแต่อย่างใด และขอชี้แจงข้อเท็จจริง และกระบวนการ ตามกฎหมายในเบื้องต้น ดังนี้
1) ภายหลังจากที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อ BTSC และผบู้ริหารว่าเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ BTSC และผู้บริหารได้มีหนังสือสอบถามเพื่อขอความชัดเจนของพฤติการณ์ในการกระทำความผิดกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. หลายครั้ง เพื่อให้ BTSC และผู้บริหารได้ชี้แจงข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น แต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ได้ชี่แจงรายละเอียดเพิ่มเติมตามที่ร้องขอ
นอกจากนี้ BTSC และผู้บริหารพบว่า มีข้อเท็จจริงและหลักฐานหลายประการที่ยังไม่ปรากฏในสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังนั้น ในวันที่ 4 ก.ย.66 ผู้บริหารของ BTSC จึงได้มีหนังสือขอนัดหมายคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในวันที่ 15 ก.ย.66 เวลา 14.00 น. เพื่อขอรับทราบพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและชี้แจงข้อกล่าวหาด้วยวาจาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ทั้งนี้ หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดแล้วจริงกรณีดังกล่าวจะเป็นการชี้มูลความผิดก่อนที่ BTSC และผู้บริหารจะได้เข้าชี้แจงข้อกล่าวหา ซึ่งบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าหากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับทราบข้อเท็จจริงและเอกสารต่าง ๆ ที่ถูกต้องครบถว้นจาก BTSC และผู้บริหารแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะทราบว่า BTSC และผู้บริหารไม่ได้กระทการใด ๆ ที่เป็นความผิดตามที่กล่าวหา
(2) ในทางกฎหมาย หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดตามที่เป็นข่าว คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะต้องจัดส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน และคำวินิจฉัยไปยังอัยการสูงสุดภายใน 30 วัน และอยัการสูงสุดจะต้องพิจารณาสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใน 180 วัน เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของสำนวนการไต่สวนและพิจารณาว่าจะดำเนินคดีต่อ BTSC และผู้บริหารตามข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือไม่อีกชั้นหนึ่ง
หากปรากฏความจริง หรือได้รับแจ้งว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดจริงตามที่ปรากฏในข่าว บริษัทฯ จะเรียนชี้แจงข้อเท็จจริง และรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป
ที่มา : https://weblink.set.or.th/dat/news/202309/0221NWS140920230849080198T.pdf