,

เงินหยวนจะมาแทนดอลลาร์ ในฐานะสกุลหลักของโลก?

รายการ Farook Zakaria ของ CNN ระบุว่า ผลการประชุมสุดยอดเป็นเวลา 3 วัน ที่น่าสนใจที่สุดระหว่าง ปธน. วลาดิเมีย ปูติน กับ ปธน. สี จิ้นผิง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้รับความสนใจจากสื่อทั่วโลกค่อนข้างน้อย

โดยปูติน กล่าวสรุปว่า “ผลการหารือคือเราเห็นพ้องตรงกันที่จะใช้เงินสกุลหยวนในการหักบัญชีการค้าระหว่างรัสเซียกับประเทศในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา”

คำพูดนี้หมายความว่า จีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลก และรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่ที่สุดของโลก กำลังร่วมมือกันอย่างชัดเจนในความพยายามลดทอนบทบาทของดอลลาร์สหรัฐที่เป็นเงินสกุลหลักที่ครอบงำเวทีการค้าและระบบการเงินของโลกมานาน

ในยุคปัจจุบันอาจพูดได้ว่า ดอลลาร์สหรัฐ คือสัญลักษณ์มหาอำนาจอันสุดท้ายที่สหรัฐยังมีเหลืออยู่ เพราะมันคือเครื่องมือที่ไม่มีคู่แข่งที่รัฐบาลที่กรุงวอชิงตันใช้ในการรักษาส่งเสริมผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและการเมืองของสหรัฐ

สหรัฐสามารถใช้ดอลลาร์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้คว่ำบาตรประเทศใดประเทศหนึ่งได้โดยลำพังแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่ต้องปรึกษาพันธมิตรของตน นอกจากนั้น สหรัฐยังสามารถใช้ดอลลาร์ในงบประมาณของตนอย่างแทบจะไม่มีขีดจำกัด โดยมั่นใจได้ว่าหนี้สินของสหรัฐที่ออกมาในรูปของพันธบัตรรัฐบาลจะมีประเทศในส่วนต่างๆ ของโลกอยู่เสมอ

สงครามยูเครนและนโยบายของสหรัฐในการเผชิญหน้ากับจีนที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ “บรรยากาศสมบูรณ์แบบที่ผลักดัน” ให้รัสเซียและจีนเร่งความพยายามที่จะถอยออกมาเพื่อหันไปใช้สกุลเงินอื่นนอกเหนือจากดอลลาร์สหรัฐ

ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ได้ค่อยๆ ลดการเก็บเงินทุนสำรองของประเทศในรูปของดอลลาร์สหรัฐ พร้อมๆ กับใช้สกุลเงินหยวนในการหักลบชำระบัญชีการค้าระหว่างกันมากขึ้น และชักชวนประเทศอื่นให้ทำตามวิธีนี้ด้วย

รัฐบาลของ ปธน. โจ ไบเดน เป็นผู้นำในการทำสงครามเศรษฐกิจกับรัสเซีย ซึ่งก็ทำได้ผลเป็นอย่างมาก โดยสร้างเครือข่ายพันธมิตรของประเทศที่มีเศรษฐกิจชั้นนำเกือบทั้งหมดของโลก ซึ่งทำให้ยากที่รัสเซียจะหลีกเลี่ยงไปใช้เงินสกุลอื่นที่มีเสถียรภาพเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ เช่น เงินยูโร เงินปอนด์อังกฤษ หรือดอลลาร์แคนาดา โดยประเทศพันธมิตรเหล่านั้นก็เป็นปฏิปักษ์กับรัสเซียเช่นกัน

ในสมัยที่ ปธน. โดนัล ทรัมป์ บทบาทของดอลลาร์เกือบจะหักเหครั้งใหญ่เมื่อสหรัฐถอนตัวออกจากข้อตกลงเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ที่ทำกับอิหร่านก่อนหน้านี้ ซึ่งการตัดสินใจของทรัมป์ถูกคัดค้านอย่างแข็งขันโดยสหภาพยุโรป โดยประธาน EU จองคลาด จังเกอร์ เสนอให้ผลักดันบทบาทของสกุลเงินยูโรในตลาดระหว่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อปกป้องยุโรปจากผลกระทบที่เกิดจาก “การกระทำที่เห็นแก่ตัวแต่เพียงฝ่ายเดียว” แต่เรื่องนี้ EU ก็ไม่ได้ทำอะไรได้มากนัก

สาเหตุที่บทบาทของดอลลาร์ที่ครอบงำตลาดโลกสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงมีอยู่หลายอย่าง เช่น ระบบการค้าสากลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกที่ควรจะต้องอาศัยสกุลเงินเดียวที่มีเสถียรภาพ เพื่อให้การค้าดำเนินไปได้อย่างสะดวกคล่องตัว และสกุลเงินนั้นควรจะสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้อย่างอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อาณัติหรือการสั่งการของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง

นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ความพยายามของจีนที่อยากทำให้เงินหยวนเป็นสกุลเงินสากลไม่ค่อยประสบความสำเร็จ

แต่เป็นที่น่าแปลกว่า ถ้าสีจิ้นผิงต้องการสร้างปัญหาให้กับสหรัฐให้มากที่สุด วิธีหนึ่งที่ทำได้ คือ การเปิดเสรีระบบการเงินภายในจีน เพื่อช่วยให้เงินหยวนเป็นคู่แข่งสำคัญของดอลลาร์สหรัฐ แต่การที่จะทำอย่างนั้นได้ จีนจะต้องเปิดตลาดการเงินและเศรษฐกิจอย่างเสรี ซึ่งจะตรงข้ามกับเป้าหมายที่เขากำลังทำอยู่

อย่างไรก็ตาม การที่สหรัฐได้ใช้ดอลลาร์เป็นอาวุธในการดำเนินนโยบายต่างประเทศในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้หลายประเทศพยายามมองหาทางใช้เงินสกุลอื่นมาแทนที่ดอลลาร์

อิทธิพลของดอลลาร์ได้ลดลงต่อเนื่อง โดยดูได้จากตัวเลขสัดส่วนการเก็บดอลลาร์เข้าเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ซึ่งเมื่อ 20 ปีก่อน มีสัดส่วนอยู่ประมาณ 70% ของทั้งหมด แต่ตัวเลขนี้ได้ลดลงเหลือน้อยกว่า 60% ในปัจจุบัน และยังลดลงต่อไปเรื่อยๆ

ประเทศยุโรปและจีนได้พยายามร่วมกันจัดตั้งระบบการชำระเงินระหว่างประเทศขึ้นมาใหม่ เพื่อมาแข่งกับระบบ Swift ที่ใช้เงินดอลลาร์เป็นสกุลหลัก

ส่วนซาอุดิอาระเบีย ครั้งหนึ่งได้คิดที่จะขายน้ำมันโดยใช้เงินที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐ และอินเดียก็ได้ซื้อน้ำมันจากรัสเซียหลายรอบ โดยส่วนใหญ่ใช้สกุลเงินที่ไม่ใช่ดอลลาร์

เงินดิจิทัลก็เป็นเงินอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจเข้ามาแทนที่ดอลลาร์สหรัฐในอนาคต โดยธนาคารกลางของจีนเป็นประเทศแรกๆ ที่ได้บุกเบิกในเรื่องนี้

บทบาทของดอลลาร์มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยอดตัวเลขหนี้สินของรัฐบาลสหรัฐที่เพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าตัว จาก 6.5 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อ 20 ปีก่อน มาเป็น 31.5 ล้านล้านดอลลาร์ ในปัจจุบัน

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แก้ปัญหาวิกฤตทางการเงินอยู่หลายครั้ง โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีออกพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งทำให้ยอดงบดุลสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเกือบ 12 เท่า จาก 730,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อ 20 ปีก่อน มาเป็น 8.7 ล้านล้านดอลลาร์ ในปัจจุบัน

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้เพราะฐานะพิเศษของสกุลเงินดอลลาร์ในโลกนี้ แต่เมื่อไรที่อิทธิพลของดอลลาร์เริ่มแผ่วลง สหรัฐจะเผชิญกับความหายนะอย่างที่ประเทศนี้ไม่เคยเห็นมาก่อน

LATEST NEWS

SCB CIO มอง 3 ปัจจัยเสี่ยงทำโลกผันผวน แนะลงทุนแบบ Stay Invested จัดพอร์ตรอรับผลเลือกตั้งสหรัฐฯ

SCB CIO แนะจับตา 3 ปัจจัยหลักทำตลาดการเงินผันผวนในเดือนตุลาคมนี้ มองตลาดหุ้นสหรัฐมีโอกาสปรับฐาน ช่วงก่อนการเลือกตั้ง และมีแนวโน้มปรับขึ้นหลังทราบผลการเลือกตั้ง แนะใช้กลยุทธ์ Stay Invested หาจังหวะลงทุน

GC เชิญร่วมงาน GC Sustainable Living Symposium 2024 ตอกย้ำ “ยั่งยืนไม่ยาก” Hybrid Event รวมพลคนหัวใจยั่งยืนเสวนาและนิทรรศการ 18 ตุลาคม 2567 นี้

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ขอเชิญคนหัวใจรักษ์โลก (GEN S: Generation Sustainability) ทุกวัย ทุกอาชีพ มาร่วมกันหาคำตอบของการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนในงาน GC Sustainable Living Symposium 2024: GEN S GATHERING ในรูปแบบ Hybrid Event ทั้ง On Ground และ Online ภายใต้แนวคิด “ยั่งยืนไม่ยาก”  พบกับการเสวนาเปิดมุมมองธุรกิจสู่ความยั่งยืนอย่างรอบด้านและขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมาย Net Zero โดยผู้นำจากทุกภาคส่วน ชมนิทรรศการนวัตกรรมที่คิดเพื่อโลก และแลกเปลี่ยนไอเดียสร้างสรรค์จุดแรงบันดาลใจกู้โลกเดือด เป็นประโยชน์สำหรับทั้งภาคธุรกิจและการใช้ชีวิตที่จะทำให้เรื่องของความยั่งยืนไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป ที่พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน ในวันที่ 18 ตุลาคม 2567 นี้

RELATED