ก.ล.ต.ร่อนหนังสือถึง ตลท.ทบทวนเงื่อนไข Short Sell-โปรแกรมเทรด พร้อมเข้าเช็คประสิทธิภาพระบบตรวจสอบ

ก.ล.ต.ส่งหนังสือถึง ตลท.ทบทวนเงื่อนไขธุรกรรมของ Short Sell – โปรแกรมเทรด ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเท่าเทียมแก่นักลงทุนทุกกลุ่ม พร้อมเข้าตรวจสอบประสิทธิภาพระบบมอนิเตอร์ Naked Short Selling ของ ตลท.- บล.

นางสาวจอมขวัญ คงสกุล รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า วันนี้ได้ส่งหนังสือถึง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อสื่อสาร 2 ประเด็นสำคัญดังนี้

1. เกี่ยวกับธุรกรรมการขายชอร์ต (Short Selling) โดยก.ล.ต.ให้อำนาจคณะกรรมการตลาดหลักทรัพยฯ สามารถปรับปรุงเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ เช่น การยกระดับเกณฑ์ Price Rule ให้ธุรกรรมขายชอร์ตต้องทำที่ระดับราคาสูงกว่าราคาตลาดครั้งสุดท้ายเท่านั้น (Uptick rule) เพื่อป้องกันการ Dump ราคา จากตอนนี้ที่สามารถทำได้ที่ราคาเท่ากับหรือสูงกว่าราคาตลาดครั้งสุดท้าย (Zero Uptick Rule) ซึ่งคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถใช้วิจารณญาณแก้ไขได้ รวมถึงเงื่อนไขอื่น ๆ ที่จะทำให้การดูแลสภาพตลาดมีเสถียรภาพมากขึ้น และหากว่ามาตรการที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถทบทวนและเสนอให้ ก.ล.ต. พิจารณาเห็นชอบได้

“บอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯ มีอำนาจเต็ม และเป็นผู้ที่มอนิเตอร์ภาพรวมตลาดอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา หากมีอะไรต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อสร้างเสถียรภาพของตลาดฯ และความเชื่อมั่นของนักลงทุน สามารถทำได้เลยตามวิจารณญาณของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือหากติดขัดด้านกฎเกณฑ์ต้องการเพิ่มเติมอะไรก็สามารถส่งเรื่องมาที่ ก.ล.ต.ได้เลย พร้อมจะสนับสนุนเต็มที่” นางสาวจอมขวัญ กล่าว

2.ตลาดหลักทรัพย์ฯ ควรเพิ่มกลไกการตรวจสอบธุรกรรมของโปรแกรมเทรด ซึ่ง ก.ล.ต.มองว่ามีความเสี่ยงสูง เพราะปัจจุบันสัดส่วนปริมาณและมูลค่าซื้อขายสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยแบ่งเป็น 2 เรื่องสำคัญ ประกอบด้วย

2.1.การระบุตัวตนผู้ธุรกรรม จากปัจจุบันจะเห็นเพียงคำสั่งซื้อขายที่มาผู้ดูแลรับฝากทรัพย์สิน (Custodian) ซึ่งควรต้องเจาะไปว่าลูกค้าของคัสโตเดี้ยนที่ส่งคำสั่งมาคือใคร เพื่อป้องกันการขายชอร์ตที่ไม่มีการยืมหลักทรัพย์ (Naked Short Selling) เพราะเมื่อรู้ว่าใครคือผู้ส่งคำสั่ง ก็จะได้รู้ว่าผู้นั้นมีหุ้นอยู่ในมือหรือไม่

2.2.การควบคุมต้นทุนซื้อขายของโปรแกรมเทรดที่มาจากนักลงทุนบุคคลซึ่งต่ำกว่าต้นทุนการซื้อขายของนักลงทุนรายย่อยอย่างมีนัยสำคัญ

“หลักในการคิดค่าคอมมิชชั่น หากเป็นกลุ่มลูกค้าสถาบัน ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ ต้นทุนในการทำธุรกรรมซื้อขายจะต่ำกว่าปกติอยู่แล้ว โดยจะส่งคำสั่งผ่านโปรแกรมเทรดหรือส่งผ่านโบรกเกอร์โดยตรง ก็นับว่าแฟร์ แต่หากผู้ที่ใช้โปรแกรมเทรดเป็นนักลงทุนบุคคล ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่า ดังนั้นต้นทุนการซื้อขายที่ต้องจ่าย ก็ควรสูงกว่ากลุ่มสถาบัน หลักการคิดควรเป็นแบบนั้น

แต่ปัญหาตอนนี้คือเราไม่รู้เลยว่าผู้ที่ใช้โปรแกรมเทรดเป็นใคร เพราะส่วนใหญ่จะดำเนินการผ่านคัสโตเดี้ยนมาอีกที ดังนั้นจึงอยากให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิ่มกลไกการตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมไม่ให้มีการได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในทุกกลุ่มนักลงทุน ที่จริงไม่ควรโทษโปรแกรมเทรด แต่ควรหาให้ได้ว่าผู้ที่ใช้โปรแกรมเทรดนั้นเป็นใคร” รองเลขาธิการ เพิ่มเติม

นอกจากนี้ ก.ล.ต.เตรียมเข้าตรวจสอบระบบของตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่ใช้ในการตรวจสอบ Naked Short Selling เพื่อให้มั่นใจว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเร็ว ๆ นี้ โดยได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว

LATEST NEWS

“Smarthome” สมาร์ทโฮมยืนหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับทุกครอบครัว

เมื่อพูดถึงแแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เชื่อว่าใครหลายๆ คน คงจะนึกถึงแบรนด์ “Smarthome” เป็น 1 ในคำตอบในใจอย่างแน่นอน ด้วยจุดเด่นของสินค้าที่แข็งแรง ทนทาน ดีไซน์ทันสมัยและราคาที่สามารถเข้าถึงได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับแบรนด์ “Smarthome” กันให้มากยิ่งขึ้น

บิ๊กดีลสะเทือนวงการ! กรุงศรีฟินโนเวตจับมืออีฟราสตรัคเจอร์ เปิดฉากลงทุนมหาศาลปั้นกองทุนใหม่หนุนสตาร์ทอัพรายเล็กก้าวกระโดด พร้อมเปิด Accelerator ติดอาวุธเร่งสปีดสร้างการเติบโต

กรุงศรี ฟินโนเวต ร่วมกับ อีฟราสตรัคเจอร์ (Efra Structure) ของ ป้อม ภาวุธ ผู้บุกเบิกและคร่ำหวอดในวงการอีคอมเมิร์ซไทย เตรียมปั้นกองทุนยักษ์ “ฟินโน อีฟรา ไพรเวท อิควิตตี้ ทรัสต์” (Finno Efra Private Equity Trust) มุ่งลงทุนในสตาร์ทอัพไทยและอาเซียน งบประมาณมหาศาลกว่า 1,300 ล้านบาท (หรือกว่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในระยะเวลา 4 ปี เผยเริ่มพูดคุยกับสตาร์ทอัพที่น่าสนใจแล้วราว 5-6 บริษัท พ่วงด้วยการเปิด Accelerator Program อย่างเป็นทางการ เพื่อปั้นสตาร์ทอัพระดับ Seed ถึง Pre-series A ให้เติบโตสู่ระดับ Series A ได้อย่างแข็งแกร่ง

SCB CIO มองตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวน เมื่อเข้าสู่โค้งสุดท้ายเลือกตั้งสหรัฐฯ พอร์ตหลักแนะหุ้นกลุ่มเทคฯ-สุขภาพ- สาธารณูปโภค-ทองคำ ส่วนพอร์ตเสริมสะสมเวียดนาม

SCB CIO มองตลาดหุ้นโลกจะมีความผันผวนเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากสถิติชี้ว่า ดัชนี VIX  จะเร่งตัวขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วง 4 เดือนสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ขณะที่สถิติในอดีตบ่งชี้ดัชนี S&P500 มีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงเดือนส.ค.- ก.ย. แนะกลยุทธ์ลงทุนในตลาดหุ้นเลือกหุ้นคุณภาพดีเติบโตสูงงบแข็งแกร่งยอดขายกำไรเติบโตยั่งยืนเช่นกลุ่มเทคโนโลยีพร้อมผสมผสานกับหุ้นกลุ่มที่มีความทนทานต่อภาวะตลาดผันผวนเช่นกลุ่มสาธารณูปโภค  สุขภาพและสินค้าจำเป็น พร้อมระวังลงทุนในหุ้นกลุ่มขนาดเล็กจากกำไรของกิจการของหุ้นขนาดเล็กค่อนข้างผันผวนและอิงกับเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นหลักซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ช่วงของการชะลอตัวลง สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง-สูง แนะลงทุนหุ้นเวียดนามจากดัชนีฯที่ได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจที่เติบโตต่อเนื่อง

RELATED