SCB  WEALTH จัดสัมมนา Exclusive Investment Talk เจาะลึกแนะกลยุทธ์เลือกสินทรัพย์ลงทุนไตรมาส 2 

SCB WEALTH  เปิด 3 สินทรัพย์ผลงานโดดเด่นในไตรมาสแรก ได้แก่ น้ำมัน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และทองคำ พร้อมแนะกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส2 จัดพอร์ตระยะยาว มองตราสารหนี้ Investment grade อายุ 2-3 ปี เพื่อเก็บผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยจ่ายที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวไว้ และเมื่อ Fed ลดดอกเบี้ยแล้ว ยังมีโอกาสรับ Capital gain จากราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้น ด้านหุ้นสหรัฐ อินเดีย และไทย รอจังหวะปรับตัวลดลง ค่อยเข้าลงทุน ส่วนการลงทุนระยะสั้น แนะนำตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และเวียดนาม จากอานิสงส์ ผลประกอบการแนวโน้มดี มูลค่าหุ้นถูก เงินลงทุนต่างชาติไหลเข้า

SCB WEATLH เดินหน้าจัดสัมมนาตลอดปี ตอบรับการตื่นตัวในการอัพเดทข้อมูลการลงทุนของกลุ่มลูกค้า Wealth ของธนาคารที่ต้องการรับคำปรึกษาการลงทุน จากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน โดยตรงแบบตัวต่อตัว  โดยเริ่มที่งานแรกExclusive Investment Talk  ในหัวข้อ “ส่องแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและไทย ปรับกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส 2” โดยมี 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน จาก SCB CIO  ได้แก่ น.ส.เกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office (SCB CIO)  และนายธนกฤต ศรันกิตติภัทร CFP® ผู้อำนวยการที่ปรึกษาการลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์  เป็นวิทยากร เพื่อเปิดมุมมองวิเคราะห์เจาะลึกสถานการณ์เศรษฐกิจ การลงทุน พร้อมแนะนำกลยุทธ์ และผลิตภัณฑ์ลงทุนที่เหมาะสำหรับการจัดพอร์ตลงทุนในไตรมาส 2 ให้กับกลุ่มลูกค้า Wealth ของธนาคาร  เมื่อเร็วๆ นี้  ณ  SCB  Investment  Center เซ็นทรัลเวิลด์

น.ส.เกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา พบว่า น้ำมัน เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนรวม (Total Return) สูงสุด โดย 3 เดือนแรกของปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้น 16.5% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 สาเหตุหลักมาจากอุปทานน้ำมันตึงตัว ท่ามกลางการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน ประกอบกับมีความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่มีการโจมตีโรงกลั่นในบริเวณที่ผลิตน้ำมัน

รองลงมาได้แก่ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทน ประมาณ 10.6% ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากกระแสปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่ทำให้บริษัทหลายแห่ง เช่น NVIDIA มีผลประกอบการเติบโตค่อนข้างโดดเด่น ประกอบกับนักลงทุนคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ออกมาดี และ ทองคำ เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนรวม เป็นอันดับ 3 อยู่ที่ 9.8% ส่วนหนึ่งมาจากประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ทำให้นักลงทุนต้องการถือครองทองคำมากขึ้น เนื่องจากมองว่า เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่ ธนาคารกลางต่างๆ ก็สะสมทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุน ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นว่า จะชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) ทำให้นักลงทุนมองว่า เศรษฐกิจโลกไม่น่าจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรง แต่ก็ทำให้ ความหวังที่ Fed จะลดดอกเบี้ยรวดเร็วและรุนแรง มีน้อยลง ด้านความน่าจะเป็นที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอีก 1 ปีข้างหน้า ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว (Developed Market) มีแนวโน้มลดลงเกือบทุกประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ ที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายรายการปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ Fed ก็มีการปรับคาดการณ์ตัวเลขต่างๆ ดีขึ้น ส่วนโอกาสการเกิดเศรษฐกิจถดถอยใน 1 ปีข้างหน้า ของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market) ในเอเชีย อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้ว โดยประเทศไทย แม้มีความน่าจะเป็นสูงที่สุดในกลุ่ม Emerging Market ในเอเชีย แต่ก็ยังอยู่ในระดับ 30% เท่านั้น และเมื่อพิจารณาภาพรวมเศรษฐกิจไทยแล้ว ก็ยังเติบโตล่าช้ากว่าเมื่อเทียบกับ Emerging Market ในเอเชียอื่นๆ

ส่วนของนโยบายการเงิน SCB CIO มองว่า Fed ไม่จำเป็นต้องรีบลดดอกเบี้ย โดยอาจเริ่มลดในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ช้ากว่าที่ตลาดมอง เพราะข้อมูล Fed Dot Plot สะท้อนว่า แม้ปีนี้ Fed จะลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง จนไปอยู่ที่ 4.625% แต่ Fed ได้ปรับคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยในปี 2568-2569 และในระยะยาว น้อยลงจากคาดการณ์ครั้งก่อน จากการที่เงินเฟ้ออาจไม่ได้ลดลงเร็ว ขณะที่ สภาพคล่องในระบบยังมีค่อนข้างมาก ส่วนตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง สนับสนุนให้ Fed ไม่ต้องรีบลดดอกเบี้ย

สำหรับ ธนาคารกลางอื่นๆ ได้แก่ ธนาคารกลางญี่ปุ่นนำร่องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสวนทางธนาคารกลางอื่นๆ ไปเรียบร้อยแล้ว ในไตรมาสแรก เนื่องจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แต่ธนาคารกลางอื่นๆ ในโลกส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ทั้งสิ้น โดยมีธนาคารกลางหลักที่คาดว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 2 นี้ ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. ประมาณ 25 bps และ ธนาคารกลางจีน ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 เช่นกัน

SCB CIO มองว่า กลยุทธ์การจัดพอร์ตลงทุนไตรมาส 2 ช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวแบบจัดการได้ ส่วนดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง และลดลงช้า ในพอร์ตลงทุนหลัก (Core Portfolio) ควรเน้นลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น การลงทุนในตราสารหนี้ ให้เน้นในกลุ่มพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพดี มีอันดับเครดิตอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) โดยเน้นเลือกตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุคงเหลือ (Duration) เฉลี่ย 2-3 ปี เพื่อเก็บอัตราผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยจ่าย (Carry Yield) ที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวไว้ ก่อนที่ Fed จะตัดสินใจลดดอกเบี้ย และเมื่อ Fed ลดดอกเบี้ยแล้ว ผู้ถือตราสารหนี้กลุ่มนี้ก็จะมีโอกาสได้รับ Capital gain จากราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้นด้วย

ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้น สำหรับพอร์ตระยะยาว แนะนำลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อินเดีย และไทย โดยในส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ผ่านมาดัชนีปรับขึ้นมามากตั้งแต่ปี 2566 และจากข้อมูลของ Bloomberg ณ วันที่ 29 มี.ค. 2567 การปรับขึ้นกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มหุ้น 7 บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ได้แก่ Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, META, Tesla และ Nvidia อีกทั้งสถิติหลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับขึ้นเกิน 10% ติดต่อกัน 2 ไตรมาสแล้ว ใน 1 เดือนถัดมาดัชนีมักจะปรับลดลง และหลังจากนั้น 3 เดือน ดัชนีจะปรับขึ้นได้ไม่มาก จึงแนะนำให้รอจังหวะที่หุ้นปรับตัวลดลง แล้วทยอยเข้าไปลงทุน เน้นคัดเลือกหุ้นกลุ่มคุณภาพ หรือ Quality Growth เป็นหลัก

ขณะที่ ตลาดหุ้นอินเดีย กำลังจะมีการเลือกตั้ง คาดว่านายนเรนทรา โมดี น่าจะยังได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และนโยบายรัฐบาลก็คงเป็นการสานต่อนโยบายเดิม เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ปฏิรูประบบแรงงาน เน้นสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเข้าไปลงทุนโดยตรงในอินเดียมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากสถิติในอดีต 3 เดือนก่อนการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นอินเดียมักจะปรับขึ้น แต่ในช่วง 1 เดือนก่อนการเลือกตั้งตลาดหุ้นมักจะพักฐาน เพราะนักลงทุนรอให้การเลือกตั้งผ่านพ้นไปก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงขานรับนโยบายรัฐบาลใหม่ แล้วจึงปรับขึ้นต่อ อีกทั้งตลาดหุ้นอินเดียปรับขึ้นมามาก ทำให้มูลค่าค่อนข้างแพงแล้ว จึงเหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ส่วนตลาดหุ้นไทย ยังปรับขึ้นล่าช้ากว่าตลาดหุ้น Emerging Market ในเอเชีย แต่มีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การท่องเที่ยวฟื้นตัว งบประมาณภาครัฐที่เบิกจ่ายเร็วขึ้น และแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในปีนี้ จึงลงทุนในพอร์ตระยะยาวได้

ส่วนการลงทุนในพอร์ตลงทุนเพื่อโอกาสระยะสั้น (Opportunistic Portfolio) ซึ่งผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง ควรลงทุนไม่เกิน 10-20% ของเงินลงทุนโดยรวม เรามองว่า ตลาดหุ้น Emerging Market ในเอเชีย มีความน่าสนใจมากกว่า ตลาดหุ้น Developed Market ที่ปรับขึ้นมาค่อนข้างมาก และเป็นการปรับขึ้นกระจุกตัวในหุ้นมาร์เก็ตแคปสูงในตลาดไม่กี่ตัว เนื่องจากตลาด Emerging Market ในเอเชีย มีการกระจุกตัวของหุ้นที่ปรับขึ้นน้อยกว่า ราคาหุ้นยังไม่ได้ปรับขึ้นมากนัก ทำให้มูลค่าหุ้นยังถูกกว่า Developed Market ยกเว้นตลาดหุ้นอินเดีย ขณะที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ตลาดคาดการณ์ 12 เดือนข้างหน้า มีแนวโน้มเติบโตค่อนข้างมาก อีกทั้งเงินลงทุนต่างชาติมีแนวโน้มไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหุ้นที่โดดเด่น คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และตลาดหุ้นชายขอบ (Frontier Market) อย่างเช่น ตลาดหุ้นเวียดนาม

“ช่วงที่ผ่านมา เงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้น Emerging Market เอเชียต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2565 และเพิ่งจะเริ่มไหลกลับเข้ามาในปี 2566 ต่อเนื่องถึง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 โดยเมื่อนำเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าและไหลออกหักลบกัน พบว่า ยอดเงินลงทุนจากต่างชาติยังไหลออกสุทธิ อยู่ที่ 78,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้ง สัดส่วนเงินที่ไหลกลับมาลงทุนที่เป็นของนักลงทุนต่างชาติ นับตั้งแต่ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน ยังอยู่เพียง 38% ของยอดเงินที่ไหลออกทั้งหมด ดังนั้น จึงมีช่องว่างที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับเข้ามาลงทุนใน Emerging Market เอเชียต่อ โดยเฉพาะในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่เงินไหลออกไปมากในช่วงที่ผ่านมา” น.ส.เกษรี กล่าว

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ได้อานิสงส์การส่งออกที่ดี โดยเฉพาะสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ในวงจรต้นน้ำ เช่น DRAM ชิปหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ และ NAND ชิปประมวลผลในการ์ดความจำ ซึ่งจะไปสนับสนุนหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่มีสัดส่วน 39% ของมูลค่าตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ให้เติบโตได้ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตขึ้นมาก อีกทั้งตลาดหุ้นเกาหลีใต้พยายามให้บริษัทจดทะเบียนเพิ่มมูลค่าบริษัทโดยสมัครใจ ด้วยการเพิ่มการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น และการซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ของบริษัทสูงขึ้น ซึ่งหุ้นที่มีราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ระดับต่ำ จะได้ประโยชน์จากปัจจัยนี้

ส่วนตลาดหุ้นเวียดนาม เรามองว่า เศรษฐกิจเวียดนาม ในปี 2567 ยังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออก และเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ การยกระดับสถานะตลาดหุ้นเวียดนาม จากตลาด Frontier Market ไปสู่ตลาด Emerging Market มีแนวโน้มส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ หุ้นกู้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่จะครบกำหนดนัดชำระหนี้ในไตรมาสที่ 2-3 ปี 2567 นี้มีค่อนข้างมาก อาจส่งผลให้นักลงทุนกังวลและขายทำกำไรกลุ่มอสังหาฯ ในระยะสั้น ดังนั้นควรเน้นคัดเลือกกองทุนที่มีนโยบายการบริหารเชิงรุก มีผู้จัดการกองทุนคัดเลือกหุ้นรายตัว หลีกเลี่ยงหุ้นที่อ่อนไหวกับประเด็นในภาคอสังหาฯ

ด้านนายธนกฤต ศรันกิตติภัทร CFP® ผู้อำนวยการที่ปรึกษาการลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกล่าวว่า ในส่วนของการลงทุน นักลงทุนควรลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ โดยการลงทุนในพอร์ตหลักนั้น ตราสารหนี้ ยังเป็นคำตอบที่น่าสนใจในช่วงก่อนดอกเบี้ยปรับลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเราแนะนำให้เลือกพันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ส่วนหุ้นกู้ให้หลีกเลี่ยงการเลือกหุ้นกู้ที่ มีความเสี่ยงจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากระดับ Investment Grade ไปอยู่ในกลุ่มตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง (High Yield) โดยควรเลือกลงทุนหุ้นกู้ Investment Grade ระดับ A ขึ้นไป ซึ่งกองทุนที่ตอบโจทย์ได้ค่อนข้างดีคือ SCBDBOND(A) ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ธปท.รัฐวิสาหกิจในไทยเป็นส่วนใหญ่ และลงทุนในตราสารหนี้เอกชนในประเทศ

กรณีที่รับความเสี่ยงได้สูงขึ้น ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายขึ้นในพอร์ตลงทุนหลัก แต่ยังเน้นลงทุนในประเทศเป็นหลัก แนะนำเลือกกองทุนผสม KFYENJAI-A ซึ่งมีการลงทุนในหุ้น ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) และพันธบัตรรัฐบาล กรณีที่พร้อมรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน มีกองทุนผสมน่าสนใจ 2 กองทุน ได้แก่ SCBCIO(A) ซึ่งมุ่งเน้นการปรับสัดส่วนเงินลงทุนได้ยืดหยุ่น เพิ่มหรือลดสินทรัพย์เสี่ยงได้ 0-100% เพื่อรับมือทุกสภาวะตลาด ที่บริหารพอร์ตกองทุนโดย SCB CIO Office

และ กองทุน SCBGA(A) ที่เงินลงทุนหลัก 70% บริหารโดยสะท้อนมุมมองการลงทุนจากจูเลียส แบร์ อีก 30% คัดเลือกลงทุนโดย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยทั้ง 2 กองทุน มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน และกรณีที่ต้องการเลือกลงทุนกองทุนหุ้นไทยในพอร์ตหลัก แนะนำกองทุน SCBDV(A) ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นไทยที่มีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี สามารถลงทุนได้ในระยะยาว ขณะที่ กองทุนที่น่าสนใจสำหรับ Opportunistic Portfolio ได้แก่ SCBKEQTG ซึ่งลงทุนในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และกองทุน PRINCIPLE VNEQ-A ที่ลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม

นอกจากนี้ หากผู้ลงทุนที่มีความมั่งคั่งสูง ประสบการณ์ลงทุนสูง รับความเสี่ยงได้สูง อาจเลือกลงทุนเพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Product) ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์การป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในภาวะตลาดผันผวน เพื่อลดโอกาสการสูญเสียเงินต้น เช่น Double Sharkfin ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้แบบมีกำหนดอายุและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนคงที่ อีกส่วนหนึ่งไปลงทุนในสัญญาวอแรนท์ ที่อ้างอิงกับดัชนีตลาดหุ้นต่างๆ โดยกำหนดเงื่อนไขว่า หากดัชนีเคลื่อนไหวปรับขึ้นหรือลดลงในกรอบที่กำหนด มีโอกาสได้ผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ แต่กรณีดัชนีเคลื่อนไหวหลุดจากกรอบที่กำหนด จะได้รับผลตอบแทนน้อยลง หรือไม่ได้เลย แต่โอกาสขาดทุนก็น้อยลงเช่นกัน


คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
การลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน รวมทั้งไม่ได้อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก จึงมีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน
กองทุน SCBDBOND(A) มีความเสี่ยงระดับ 4 คือ เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ
กองทุน KFYENJAI-A มีความเสี่ยงระดับ 5 คือ เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง
กองทุน SCBCIO(A) มีความเสี่ยงระดับ 5 คือ เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง
กองทุน SCBGA(A) มีความเสี่ยงระดับ 5 คือ เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง
กองทุน SCBDV(A) มีความเสี่ยงระดับ 6 คือ เสี่ยงสูง
กองทุน SCBKEQTG มีความเสี่ยงระดับ 6 คือ เสี่ยงสูง
กองทุน PRINCIPLE VNEQ-A มีความเสี่ยงระดับ 6 คือ เสี่ยงสูง
กองทุน SCBCIO ได้ให้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาการลงทุน ซึ่งธนาคารฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และเป็นตัวแทนสนับสนุนการซื้อขายกองทุนรวมกับบลจ. ไทยพาณิชย์ จึงอาจมีธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์  
เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
การลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อนสูงมีความแตกต่างจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนทั่วไป ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุน
หู้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงเป็นตราสารที่มีความซับซ้อนมากกว่าหุ้นกู้ทั่วไป เนื่องจากเป็นตราสารที่ประกอบด้วยตราสารหนี้และอนุพันธ์แฝง (embedded derivatives) โดยการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง จะมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องหลายด้าน เช่น ความเสี่ยงของปัจจัยอ้างอิง ความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกตราสาร เป็นต้น
ผู้ลงทุนมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วน หากหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงชุดใดไม่ได้มีการคุ้มครองเงินต้นในจำนวนร้อยละ 100% ของมูลค่าที่ตราไว้ นอกจากนั้นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงยังเป็นตราสารที่มีสภาพคล่องต่ำและมีตลาดรองที่มีขอบเขตจำกัด ดังนั้น ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน
การลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงนี้เป็นธุรกรรมที่ไม่ใช่ “เงินฝาก” และธุรกรรมการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงดังกล่าวจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากแต่อย่างใด
การลงทุนในผลิตภัณฑ์ตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนซึ่งมีปัจจัยอ้างอิง มีความแตกต่างจากการลงทุนในปัจจัยอ้างอิงโดยตรง จึงอาจทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวมีความผันผวนแตกต่างจากราคาของปัจจัยอ้างอิงได้ ผู้ลงทุนความทำความเข้าใจเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อและขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุน
ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมเพิ่มเติมได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด, บลจ.กรุงศรี จำกัด และ บลจ. ซีไอเอ็มบี พรินซิเพิล จำกัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 02-777-7777

LATEST NEWS

“Smarthome” สมาร์ทโฮมยืนหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับทุกครอบครัว

เมื่อพูดถึงแแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เชื่อว่าใครหลายๆ คน คงจะนึกถึงแบรนด์ “Smarthome” เป็น 1 ในคำตอบในใจอย่างแน่นอน ด้วยจุดเด่นของสินค้าที่แข็งแรง ทนทาน ดีไซน์ทันสมัยและราคาที่สามารถเข้าถึงได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับแบรนด์ “Smarthome” กันให้มากยิ่งขึ้น

บิ๊กดีลสะเทือนวงการ! กรุงศรีฟินโนเวตจับมืออีฟราสตรัคเจอร์ เปิดฉากลงทุนมหาศาลปั้นกองทุนใหม่หนุนสตาร์ทอัพรายเล็กก้าวกระโดด พร้อมเปิด Accelerator ติดอาวุธเร่งสปีดสร้างการเติบโต

กรุงศรี ฟินโนเวต ร่วมกับ อีฟราสตรัคเจอร์ (Efra Structure) ของ ป้อม ภาวุธ ผู้บุกเบิกและคร่ำหวอดในวงการอีคอมเมิร์ซไทย เตรียมปั้นกองทุนยักษ์ “ฟินโน อีฟรา ไพรเวท อิควิตตี้ ทรัสต์” (Finno Efra Private Equity Trust) มุ่งลงทุนในสตาร์ทอัพไทยและอาเซียน งบประมาณมหาศาลกว่า 1,300 ล้านบาท (หรือกว่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในระยะเวลา 4 ปี เผยเริ่มพูดคุยกับสตาร์ทอัพที่น่าสนใจแล้วราว 5-6 บริษัท พ่วงด้วยการเปิด Accelerator Program อย่างเป็นทางการ เพื่อปั้นสตาร์ทอัพระดับ Seed ถึง Pre-series A ให้เติบโตสู่ระดับ Series A ได้อย่างแข็งแกร่ง

SCB CIO มองตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวน เมื่อเข้าสู่โค้งสุดท้ายเลือกตั้งสหรัฐฯ พอร์ตหลักแนะหุ้นกลุ่มเทคฯ-สุขภาพ- สาธารณูปโภค-ทองคำ ส่วนพอร์ตเสริมสะสมเวียดนาม

SCB CIO มองตลาดหุ้นโลกจะมีความผันผวนเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากสถิติชี้ว่า ดัชนี VIX  จะเร่งตัวขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วง 4 เดือนสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ขณะที่สถิติในอดีตบ่งชี้ดัชนี S&P500 มีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงเดือนส.ค.- ก.ย. แนะกลยุทธ์ลงทุนในตลาดหุ้นเลือกหุ้นคุณภาพดีเติบโตสูงงบแข็งแกร่งยอดขายกำไรเติบโตยั่งยืนเช่นกลุ่มเทคโนโลยีพร้อมผสมผสานกับหุ้นกลุ่มที่มีความทนทานต่อภาวะตลาดผันผวนเช่นกลุ่มสาธารณูปโภค  สุขภาพและสินค้าจำเป็น พร้อมระวังลงทุนในหุ้นกลุ่มขนาดเล็กจากกำไรของกิจการของหุ้นขนาดเล็กค่อนข้างผันผวนและอิงกับเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นหลักซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ช่วงของการชะลอตัวลง สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง-สูง แนะลงทุนหุ้นเวียดนามจากดัชนีฯที่ได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจที่เติบโตต่อเนื่อง

RELATED