SCB CIO ชี้ตลาดกลับมากังวลเศรษฐกิจถดถอย แนะเพิ่มพันธบัตรรัฐบาลในพอร์ตรับความเสี่ยง

ดร.กำพล  อดิเรกสมบัติ  ผู้อำนวยการอาวุโสและหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์  จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากความตึงเครียดในภาคการเงิน (financial sector stress) โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้สถาบันการเงินใน 2 กลุ่มประเทศนี้ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ (lending standard) มากขึ้น จากเดิมที่มีความเข้มงวดสูงอยู่แล้ว จึงคาดว่าจะส่งผลลบต่อการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจและธุรกิจในระยะข้างหน้า 

ล่าสุด IMF ประเมินว่า การปล่อยสินเชื่อที่มีแนวโน้มลดลงน่าจะส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ 2 กลุ่มประเทศนี้ ในช่วง 1 ปีข้างหน้า ได้รับผลกระทบประเทศละประมาณ -0.4% เมื่อบวกกับผลของอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ SCB CIO คาดว่า ประเด็นความกังวลด้านเศรษฐกิจถดถอย (Recession concern) โดยเฉพาะในสหรัฐฯ จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2566  

ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนยังเป็นปัจจัยบวกหลักของการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก แต่จากตัวเลข GDP ไตรมาสแรกที่เติบโต 4.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) เมื่อดูในรายละเอียด ยังสะท้อนการฟื้นตัวแบบไม่ทั่วถึง (uneven recovery) โดยการบริโภคในประเทศส่งสัญญาณฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง แต่ภาคการลงทุนยังฟื้นตัวช้า ส่วนภาคส่งออก แม้มีสัญญาณผ่านจุดต่ำสุด แต่ระยะข้างหน้ายังถูกกดดันจากความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวมาก สะท้อนจากตัวเลขค้าปลีก ล่าสุดส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง (เดือน มี.ค. ขยายตัว 10.6% YOY   ในขณะที่  ม.ค.- ก.พ. ขยายตัว 3.5% YOY)  สำหรับ การลงทุนสินทรัพย์ถาวร ช่วงไตรมาสแรก ยังฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป  แม้ตัวเลขส่งออกของจีนเดือน มี.ค. (+14.9% YOY หลังหดตัวต่อเนื่อง 5 เดือนติด) จะออกมาดีกว่าคาด แต่ยังคงต้องติดตามผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป ที่จะมีต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจจีน

ดร.กำพล กล่าวว่า SCB CIO ยังคงมีมุมมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะหยุดขึ้นดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 2/2566 และไม่น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้  ทั้งนี้ Fed น่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกเพียง 0.25% ในการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค. นี้ และคงดอกเบี้ยที่ 5.00-5.25% จนถึงสิ้นปี เพราะถึงแม้อัตราเงินเฟ้อจะชะลอลงแต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมาย ส่วน ECB อัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงช้า แต่ความตึงเครียดจากภาคการเงินน่าจะทำให้ ECB ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 1-2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในส่วนของ ธปท. น่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมวันที่ 31 พ.ค. นี้ และคงดอกเบี้ยที่ 2% จนถึงปลายปี 2566 โดยอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเริ่มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 1-3% ในไตรมาสที่ 2/2566 แม้อุปสงค์ในประเทศจะมีการฟื้นตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและบริการ แต่ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวที่มากกว่าคาด ยังเป็นปัจจัยกดดันภาคส่งออกไทย

จากความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มขึ้น เราแนะนำให้นักลงทุนป้องกันความเสี่ยง (Hedge) ด้วยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล (Positive) ในพอร์ตโดยจากการวิเคราะของ SCB CIO พบว่า ช่วงที่เศรษฐกิจมีความเสี่ยงถดถอยสูง (ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือ PMI <50 และหดตัวลงเรื่อยๆ) และเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง สินทรัพย์ที่มักจะถูกนำมาใช้ในการป้องกันความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย คือ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หุ้นกู้คุณภาพสูง (Investment Grade) ของสหรัฐฯ และทองคำ 

แต่เมื่อพิจารณาจากผลตอบแทนต่อความผันผวน (Risk-adjusted return) จะพบว่า พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นสินทรัพย์ที่ช่วยรับมือความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยได้ดีที่สุด ดังนั้น เราจึงปรับมุมมองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็น Positive และปรับมุมมองหุ้นกู้คุณภาพสูงเป็น Slightly Positive แต่ยังคงมุมมองหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูง (High Yield) ที่ Slightly Negative เนื่องจากส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนจากหุ้นกู้ High Yield เมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล มักเร่งตัวขึ้น (ราคา หุ้นกู้ High Yield ลดลง) ในระยะถัดไปหลังการปล่อยสินเชื่อมีความเข้มงวดสูงขึ้น 

นอกจากนี้ เรายังปรับมุมมองต่อ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว หรือ DM REITs เป็น Slightly Negative จากความกังวลในประเด็นอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ (CRE) ในกลุ่มออฟฟิศ และราคาบ้านที่ชะลอลงในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วโดยแรงกดดันหลักที่มีต่อกลุ่มออฟฟิศ มาจาก 1) ต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นและการมีหนี้ครบกำหนดชำระค่อนข้างมากในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า 2) การฟื้นตัวของรายได้ที่ช้ากว่าคาด หลังการเปิดเมือง เนื่องจากการทำงานแบบ Hybrid สำหรับอสังหาริมทรัพย์เชิงที่อยู่อาศัย ราคาที่อยู่อาศัยที่เริ่มชะลอลงตามแรงกดดันของดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การฟื้นตัวของค่าเช่าในอีก 12-18 เดือนได้รับผลกระทบตามไปด้วยอย่างไรก็ตามเรายังคงมุมมอง Slightly Positive ต่อ REITs ในสิงคโปร์และไทย ที่ยังมีแนวโน้มได้รับอานิสงส์การฟื้นตัวของค่าเช่าและอัตราการเช่าต่อเนื่อง

สำหรับ การลงทุนในหุ้น (Neutral) ยังคงต้องติดตามงบไตรมาสแรกของปี 2566 และความเสี่ยงจากการถูกปรับลดคาดการณ์กำไร แม้ธนาคารกลางส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะเริ่มหยุดขึ้นดอกเบี้ย แต่ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และความตึงเครียดในภาคการเงินของสหรัฐฯ และยุโรป ยังเป็นปัจจัยกดดันทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจและกำไรของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มถูกปรับลดคาดการณ์ได้ในช่วงที่เหลือของปี โดยเรายังแนะนำให้เน้นการลงทุนในตลาดหุ้นจีน A-share ที่คงมุมมอง Positive  ตลาดหุ้นจีน H-share  และตลาดหุ้นไทย เป็น Slightly Positive   เนื่องจากมูลค่ายังน่าสนใจและมีแนวโน้มกำไรฟื้นตัวในระยะข้างหน้า

LATEST NEWS

“Smarthome” สมาร์ทโฮมยืนหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับทุกครอบครัว

เมื่อพูดถึงแแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เชื่อว่าใครหลายๆ คน คงจะนึกถึงแบรนด์ “Smarthome” เป็น 1 ในคำตอบในใจอย่างแน่นอน ด้วยจุดเด่นของสินค้าที่แข็งแรง ทนทาน ดีไซน์ทันสมัยและราคาที่สามารถเข้าถึงได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับแบรนด์ “Smarthome” กันให้มากยิ่งขึ้น

บิ๊กดีลสะเทือนวงการ! กรุงศรีฟินโนเวตจับมืออีฟราสตรัคเจอร์ เปิดฉากลงทุนมหาศาลปั้นกองทุนใหม่หนุนสตาร์ทอัพรายเล็กก้าวกระโดด พร้อมเปิด Accelerator ติดอาวุธเร่งสปีดสร้างการเติบโต

กรุงศรี ฟินโนเวต ร่วมกับ อีฟราสตรัคเจอร์ (Efra Structure) ของ ป้อม ภาวุธ ผู้บุกเบิกและคร่ำหวอดในวงการอีคอมเมิร์ซไทย เตรียมปั้นกองทุนยักษ์ “ฟินโน อีฟรา ไพรเวท อิควิตตี้ ทรัสต์” (Finno Efra Private Equity Trust) มุ่งลงทุนในสตาร์ทอัพไทยและอาเซียน งบประมาณมหาศาลกว่า 1,300 ล้านบาท (หรือกว่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในระยะเวลา 4 ปี เผยเริ่มพูดคุยกับสตาร์ทอัพที่น่าสนใจแล้วราว 5-6 บริษัท พ่วงด้วยการเปิด Accelerator Program อย่างเป็นทางการ เพื่อปั้นสตาร์ทอัพระดับ Seed ถึง Pre-series A ให้เติบโตสู่ระดับ Series A ได้อย่างแข็งแกร่ง

SCB CIO มองตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวน เมื่อเข้าสู่โค้งสุดท้ายเลือกตั้งสหรัฐฯ พอร์ตหลักแนะหุ้นกลุ่มเทคฯ-สุขภาพ- สาธารณูปโภค-ทองคำ ส่วนพอร์ตเสริมสะสมเวียดนาม

SCB CIO มองตลาดหุ้นโลกจะมีความผันผวนเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากสถิติชี้ว่า ดัชนี VIX  จะเร่งตัวขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วง 4 เดือนสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ขณะที่สถิติในอดีตบ่งชี้ดัชนี S&P500 มีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงเดือนส.ค.- ก.ย. แนะกลยุทธ์ลงทุนในตลาดหุ้นเลือกหุ้นคุณภาพดีเติบโตสูงงบแข็งแกร่งยอดขายกำไรเติบโตยั่งยืนเช่นกลุ่มเทคโนโลยีพร้อมผสมผสานกับหุ้นกลุ่มที่มีความทนทานต่อภาวะตลาดผันผวนเช่นกลุ่มสาธารณูปโภค  สุขภาพและสินค้าจำเป็น พร้อมระวังลงทุนในหุ้นกลุ่มขนาดเล็กจากกำไรของกิจการของหุ้นขนาดเล็กค่อนข้างผันผวนและอิงกับเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นหลักซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ช่วงของการชะลอตัวลง สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง-สูง แนะลงทุนหุ้นเวียดนามจากดัชนีฯที่ได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจที่เติบโตต่อเนื่อง

RELATED