IMF เตือนธนาคารในประเทศต่างๆ เผชิญปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ฉุด GDP โลก

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนในวันอังคาร (เวลาสหรัฐ) ว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางชาติต่างๆ ได้เพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่ธนาคารเอกชนต้องแบกรับ และปฏิกิริยาของสถาบันการเงินเอกชนในประเด็นนี้เป็นปัจจัยลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

ปิแอร์ โอลิเวีย กูรินชา นักเศรษฐศาสตร์ของ IMF กล่าวกับ CNBC ว่า “เรากังวลกับสิ่งที่เราได้เห็นในภาคธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐ รวมทั้งในประเทศอื่นว่ามันจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไรในปีนี้”

การปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางในหลายประเทศได้เพิ่มต้นทุนของการระดมเงินของสถาบันการเงิน ซึ่งในขณะเดียวกันต้องขาดทุนจากสินทรัพย์อื่นๆ เช่น พันธบัตรระยะยาว

คุณกูรินชา กล่าวว่า “ธนาคารเอกชนตกอยู่ในฐานะที่เสี่ยงและลำบากมากขึ้น ถึงแม้พวกเขาจะมีฐานะแข็งแกร่งที่จะรับมือกับปัญหาต่างๆ ได้ แต่สถานการณ์คงจะบีบบังคับให้ต้องระมัดระวังอย่างรอบคอบมากขึ้น ซึ่งทำให้ต้องลดการปล่อยกู้ให้ลูกค้าลงบ้าง”

ฉากทัศน์หนึ่งของ IMF ชี้ว่าสภาพการระดมเงินทุนของธนาคารต่างๆ จะตึงตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อปริมาณการปล่อยกู้ในระบบเศรษฐกิจและนำไปสู่การปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกของ IMF ของปี 2023 ให้ขยายตัวลดลงเหลือ 2.5% จากเดิมที่ 2.8%

คุณกูรินชา กล่าวว่า โมเดลคาดการณ์เศรษฐกิจของ IMF มีรวมไปถึงฉากทัศน์ที่เลวร้ายมากขึ้นในกรณีที่ปัญหาเสถียรภาพในภาคการเงินไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดได้

เขากล่าวว่า “สถานการณ์เช่นนั้นจะก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายของเงินทุนอย่างมหาศาลจากส่วนต่างๆ ของโลกไปสู่สินทรัพย์ปลอดภัย การเพิ่มขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ การเพิ่มขึ้นของเบี้ยประกันความเสี่ยง และปัญหาการขาดความเชื่อมั่น”

คุณกูรินชา กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่เลวร้ายเช่นนั้น เศรษฐกิจโลกคงจะขยายตัวเพียงประมาณ 1.0% เท่านั้น ในปีนี้ แต่โอกาสความเป็นไปได้ของเรื่องนี้ยังมีค่อนข้างน้อย คือมีเพียงประมาณ 15%

IMF ออกรายงานในวันอังคารถึงแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจโลกของปีนี้ ระบุว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะปานกลางใน 5 ปีข้างหน้า จะมีอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 30 ปีที่ผ่านมา

ประเด็นเสถียรภาพของภาคการเงินได้กลายเป็นจุดที่ถูกเฝ้าจับตาดูมากที่สุดในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หลังจากการล้มครืนของธนาคารหลายแห่งในสหรัฐ การขายทิ้งอย่างรวดเร็วของธนาคาร Credit Suisse ในยุโรป และสภาพความสับสนวุ่นวายของตลาดตราสารหนี้ในอังกฤษ ซึ่งเกือบจะทำให้ธุรกิจกองทุนบำเหน็จบำนาญของอังกฤษต้องพังทลายลงในฤดูใบไม้ร่วงของปีที่แล้ว

ที่มา: https://www.cnbc.com/2023/04/11/banks-creating-downside-risks-for-global-growth-imf-chief-economist-.html?fbclid=IwAR1r7Zq-CklpvliyTrBAlelbzeie4f1Wp-6kV0yUpxPEHx2MSLtBoQQLLuM

LATEST NEWS

PrimeStreet Capital ชูกลยุทธ์ “Inside Out – Outside In” ลงทุน 4 เมกะเทรนด์โชว์ผลงาน 2 ปี NAV ทะลุ 5 เท่าลุยเฟส 2 “Outside In” นำเทคโนโลยีระดับโลกแม็ทชิ่งธุรกิจไทย ผลักดันประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำการสร้าง New Economy

PrimeStreet Capital ผู้บริหารกองทุน Global VC แถวหน้าของเมืองไทยในเครือ PrimeStreet Group เปิดตัวครั้งแรกอย่างเป็นทางการภายใต้การนำทัพโดย 3 ผู้บริหารหนุ่มที่คว่ำหวอดวงการการเงิน-การลงทุนระดับโลกมากว่า 20 ปีประกาศเดินหน้าเฟ้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพทั่วโลก 4 ธีมเมกะเทรนด์ภายใต้กลยุทธ์ “Inside Out – Outside In” นำเทคโนโลยีระดับโลกต่อยอดการเติบโตภาคธุรกิจไทยพร้อมยกระดับ Ecosystem เศรษฐกิจประเทศโชว์ผลงานลงทุน 2 ปี NAV โตทะลุ 5 เท่า IRR พุ่ง 132% ล่าสุดเดินหน้าเฟส 2 “Outside In”  แม็ทชิ่งธุรกิจไทยนำเทคโนโลยีระดับโลกประเดิมโปรเจ็คแรกดันไทยเป็นผู้นำในการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสร้างทางเลือกใหม่การรักษาผู้ป่วยในภูมิภาคเอเชียหลังบริษัทร่วมลงทุน “Novel Innate Autoimmune Therapy” จ่อยื่นขออนุมัติขึ้นทะเบียนยาจาก FDA ภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ 

SCB CIO แนะเก็บหุ้นสหรัฐเข้าพอร์ตหลัก หลังเฟดหั่นดอกเบี้ย มองเศรษฐกิจไม่ถดถอย ส่วนพอร์ตเสริมแนะหุ้นไทย-เวียดนาม

SCB CIO มองธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 50 bps มาอยู่ที่ 4.75%-5.00% ต่อปี พร้อมปรับลดต่อเนื่องในปีนี้อีก 50 bps และในปีหน้าอีก 100 bps จากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับลดลงเข้าใกล้เป้า 2% ของเฟด ขณะที่การจ้างงานที่อ่อนแอลง แต่ยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ ผนวกกับภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ถึงการเกิด Recession

NER มั่นใจปี 67 โตตามเป้า หลังคำสั่งซื้อล่วงหน้า –  EUDR ตอบรับดี

บมจ.นอร์ทอีสรับเบอร์หรือ NER เผยยาง EUDR ตอบรับดีเตรียมส่งออเดอร์ยางล๊อตแรก 2,000-3,000 ตันต่อเดือนให้ลูกค้าจีนภายในเดือนก.ย.นี้พร้อมตั้งเป้าส่งออกปีนี้ 45,000 ตันและจะเติบโตมากขึ้นในปี 2568 ขณะที่มั่นใจครึ่งปีหลังผลงานดีลุ้นรายได้ปีนี้โตเกินเป้าสูงกว่าปีก่อน

RELATED