ไบเดนเจาะจงการกีดกันในครั้งนี้ไปที่ กลุ่ม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกซ์ (semiconductors), การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing) และ เอ ไอ (artificial intelligence) ด้วยเหตุผลกังวลในเรื่องความก้าวหน้าของจีนในแต่ละด้านเหล่านี้ จะมาเป็นปรปักษ์ต่อความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา มาตรการใหม่นี้คาดว่าจะถูกใช้เลยในปีหน้า
นักลงทุนสหรัฐอเมริกาค่อยๆถอยการลงทุนออกมาจากจีนเรื่อยๆเนื่องจากสภาวะ เศรษฐจีนที่อ่อนแอลง และ เต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์ มูลค่าการลงทุนรวมกันระหว่าง private equity(การลงทุนในหุ้นนอกตลาด) กับ venture capital(ธุรกิจเงินร่วมลงทุนในบริษัท) จากสหรัฐ ตกลงไปต่ำสุดในรอบ 8 ปี ในปี 2022 ในเชิงของการปรับใช้ทุน และเทรนด์ขาลงนีัยังคงดำเนินมาถึงต้นปีนี้
Elena McGovern หัวหน้าทีมปฎิบัติด้านความมั่นคงของชาติภาคเอกชน บริษัทที่ปรึกษา Capstone บอกว่า นี่เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลอเมริกากำหนดข้อจำกัด เงินทุนไหลออกจากประเทศ
คณะกรรมการคัดเลือกคอมมิวนิสต์จีน ส่งจดหมายไปที่ 4 บริษัทร่วมทุนของสหรัฐ แสดงความกังวลอย่างจริงจังในเรื่องการลงทุนในสตาร์ทอัพเทคจีน
Eric Reiner หุ้นส่วนผู้จัดการบริษัท Vine Ventures กล่าวว่า เงินทุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ควรถูกใช้เป็นทุนพัฒนาทางทหารให้แก่ปักกิ่ง บริษัทของเค้าลงทุนใน บริษัทสัญชาติอเมริกา อิสราเอล และ ละตินอเมริกา ที่ยังอยู่ในระยะแรกเริ่ม และหลายๆบริษัทเหล่านี้กำลังลงทุนในจีน การลงทุนที่นั่นไม่ต่างจากการเล่นกับไฟ
สำหรับเทคโนโลยีที่เป็นกังวลหลักๆคือ เอ ไอ (A.I.) โปรเซสเซอร์คอมพิวเตอร์ (computer processors) และ การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing) หลายฝ่ายคาดว่าจะถูกแบนเป็นวงกว้างมากขึ้นกว่านี้ โดยเฉพาะการเจรจาร่วมลงทุนในเทคโนโลยีของจีนจะมีความเสี่ยงมากที่จะทำและนักลงทุนส่วนมากก็ไม่อยากขัดนโยบายความมั่นคงของชาติสหรัฐ
การที่รัฐบาลสหรัฐเป็นปรปักษ์ต่อจีนอย่างต่อเนื่องทำให้ประเทศมีความเสี่ยงมากขึ้น อย่างแรกคือเม็ดเงินลงทุนจำนวนมากภายในและรอบๆประเทศจีน ที่จะสามารถสร้างผลตอบแทนอย่างมากได้ ก็จะหายไป รวมถึงการลงทุนในปัจจุบันก็เสี่ยงด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น บริษัทร่วมลงทุนในสหรัฐลงทุนใน บริษัท ByteDance บริษัทแม่ของ Tiktok ที่จ่อถูกแบนในอเมริกา หรืออาจถูกบังคับขายกิจการเพื่อให้ยังดำเนินต่อไปได้
มีนักลงทุนบางกลุ่มกังวลว่า ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศดีขึ้น บริษัทสัญชาติมะกัน จะเสียเปรียบในเรื่องดีลใหม่ๆ การสร้างความเชื่อมั่นใหม่ ถ้าปรากฎตัวอยู่แล้วจะได้เปรียบกว่าเมื่อสิ่งต่างๆเปิดขึ้น แต่ไม่เกี่ยวกับบริษัทที่ไม่ได้ทำกิจการอยู่ในจีน
อีกกลุ่มบอกว่าผลตอบแทนการลงทุนในจีนนั้น เทียบไม่ได้กับภัยคุกคามระดับโลกถ้าให้จีนครอบครองเทคโนโลยีที่ละเอียดอ่อน แทบไม่มีความจำเป็นเลยที่ต้องเป็นคำสั่งผู้บริหาร เราควรใช้เวลาปกป้องทรัพยากรและสร้างแรงจูงใจให้จีนไม่แอบสอดส่อง เทคโนโลยีที่สำคัญและเป็นกรรมสิทธิ์ของเรา
ที่มา: Biden executive order on Chinese A.I. investments marks a ‘new era’ (cnbc.com)