ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยกระดับความเชื่อมั่นเรื่อง short selling และ program trading รวมถึงมาตรการเพิ่มการเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณชน

ตามที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ได้มีมติอนุมัติในหลักการให้
นำผลการศึกษากฎหมาย กฎเกณฑ์ และแนวทางการกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์ชั้นนำในต่างประเทศมาใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงแนวทางการกำกับดูแลการขายชอร์ต (short selling) และการใช้คอมพิวเตอร์ส่งคำสั่งซื้อขาย (program trading) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อยกระดับการกำกับดูแลและเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุนทุกประเภทนั้น  

วานนี้ (21 กุมภาพันธ์ 2567) คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ให้ความเห็นชอบมาตรการเพิ่มเติมเพื่อที่จะยกระดับการกำกับดูแลการขายชอร์ต และการใช้คอมพิวเตอร์ส่งคำสั่งซื้อขายหรือโปรแกรมเทรดดิ้ง พร้อมทั้งการปรับเพิ่มมาตรการการเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณชน ดังนี้

1)  มาตรการกำกับดูแลการขายชอร์ต

  • การทบทวนคุณสมบัติของหลักทรัพย์ที่สามารถขายชอร์ตได้ (eligible securities) 
  • เพิ่มขนาดมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดขั้นต่ำ (market capitalization) จากเดิม 5,000 ล้านบาท
    เป็น 7,500 ล้านบาท 
  • เพิ่มข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิจารณาสภาพคล่องของหุ้น โดยกำหนดให้หุ้นนั้นจะต้องมีสัดส่วนปริมาณการซื้อขายต่อเดือนเมื่อเทียบกับปริมาณหุ้นจดทะเบียน (monthly turnover) แล้วมากกว่า 2%  
  • การควบคุมผลกระทบอันอาจเกิดการขายชอร์ต
  • ผลกระทบด้านราคา: กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายชอร์ตเพิ่มเติม สำหรับการขายชอร์ตเฉพาะกรณีที่ราคาหุ้นรายหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงมากกว่า 10% จากราคาปิดของวันก่อนหน้า โดยกำหนดให้ราคาขายชอร์ตต้องเป็นราคาที่สูงกว่าราคาล่าสุด (uptick rule) 
  • ผลกระทบด้านปริมาณการขายชอร์ต: เพิ่มการกำหนดเพดานสูงสุดในการขายชอร์ตรายหลักทรัพย์ใน
    แต่ละวัน (daily limit) เพื่อที่จะควบคุมความเสี่ยงไม่ให้เพิ่มมากเกินไป รวมทั้งเพิ่มการเปิดเผยข้อมูลรายวันของยอดสะสมปริมาณการขายชอร์ตที่ยังไม่ได้ซื้อคืน (outstanding) สำหรับแต่ละหลักทรัพย์ เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป
  • การเพิ่มการกำกับดูแลสมาชิกโดยเพิ่มบทระวางโทษปรับ กรณีพบการกระทำผิดเกี่ยวกับการขายชอร์ต จะกำหนดระวางโทษปรับที่จะลงต่อสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 3 เท่า ซึ่งเทียบเคียงได้กับแนวทางการลงโทษของตลาดหลักทรัพย์ชั้นนำในต่างประเทศ นอกจากนี้ จะนำเสนอหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลในการพิจารณาแก้ไขกฏหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถลงโทษผู้ลงทุนที่เป็นผู้กระทำผิดได้โดยตรงด้วย
  • การพัฒนาระบบกลางเพื่อตรวจสอบหลักทรัพย์ จะจัดให้มีเป็นแหล่งข้อมูลกลางสำหรับสมาชิกและตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะใช้ในการตรวจสอบการมีอยู่ของหลักทรัพย์ของผู้ลงทุน เพื่อที่จะทำให้การกำกับดูแลการขายชอร์ตสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2)  มาตรการการกำกับดูแล program trading เพื่อให้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นไปอย่างเป็นระเบียบ (orderly) และป้องกันความผันผวนผิดปกติของราคา รวมถึงป้องปรามพฤติกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เหมาะสม รวมถึงสร้างความสมดุลระหว่างกลุ่มผู้ลงทุน จะยกระดับมาตรการกำกับดูแล program trading ดังนี้

  • การป้องกันราคาผันผวนผิดปกติ 
  • เพิ่มมาตรการควบคุมความผันผวนของราคารายหุ้นระหว่างวัน (นอกเหนือจากการกำหนด ceiling & floor ที่ใช้บังคับอยู่แล้วในปัจจุบัน) ด้วยการเพิ่มเพดานการเคลื่อนไหวของราคาระหว่างวัน (dynamic price band) ซึ่งจะเป็นกรอบของการเคลื่อนไหวของราคาที่แคบลงมาจาก ceiling & floor โดยกำหนดกรอบไว้เป็นเปอร์เซ็นต์ (เช่น +/- 10%) จากราคาซื้อขายล่าสุด ซึ่งหากถึงระดับราคาดังกล่าวก็จะหยุดพักการซื้อขายชั่วคราวก่อนเปิดซื้อขายใหม่
  • กรณีที่ราคาหุ้นมีความผันผวนมาก อาจพิจารณาปรับเปลี่ยนวิธีการซื้อขายของหุ้นที่อยู่ในมาตรการกำกับการซื้อขายเป็นแบบ call auction แทน
  • การกำกับดูแลพฤติกรรมการซื้อขายที่ไม่เหมาะสม
  • ปรับปรุงเกณฑ์เกี่ยวกับคำสั่งไม่เหมาะสม โดยจะเพิ่มลักษณะของคำสั่งซื้อขายที่มีผลกระทบต่อตลาดทั้งในเชิงปริมาณและราคา รวมทั้งจัดทำระบบกลางในการคัดกรองคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสม (order screening)
    ซึ่งจะรวมถึงการป้องกันไม่ให้มีการใส่ถอนคำสั่งซื้อขายที่ถี่จนเกินไป ด้วยการกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำของคำสั่งที่ส่งเข้ามาก่อนที่จะสามารถยกเลิกคำสั่งนั้นได้ (minimum resting time) เช่น อาจจะต้องคงไว้อย่างน้อย 0.6 วินาที เป็นต้น
  • ใช้มาตรการหยุดการซื้อขายโดยอัตโนมัติ (auto halt) เป็นรายหุ้น หากพบว่า มีการซื้อหรือขายหุ้นนั้นรวมกันในปริมาณที่มากเกินกว่าระดับที่กำหนด เพื่อป้องกันการจับคู่ของคำสั่งซื้อขายที่อาจผิดปกติ
  • การยกระดับการกำกับดูแลผู้ลงทุนที่ส่งคำสั่งด้วยความเร็วสูง (HFT) 
  • จะเพิ่มความเข้มงวดของการกำกับดูแลกลุ่มผู้ลงทุนประเภทนี้ เช่น ต้องมีการแจ้งหรือขึ้นทะเบียน (register) พร้อมทั้งให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ก่อน เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลการซื้อขายของผู้ลงทุนกลุ่มนี้

3)  การปรับปรุงเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล

  • การเปิดเผยข้อมูลรายชื่อผู้ลงทุนที่มีพฤติกรรมการส่งคำสั่งซื้อขายไม่เหมาะสมให้แก่บริษัทสมาชิกทุกราย เพื่อให้บริษัทสมาชิกใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาดำเนินการกับผู้ลงทุนรายนั้น เช่น ปรับลดวงเงิน กำหนดให้ต้องซื้อขายผ่านผู้แนะนำการลงทุน (trader) เป็น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการส่งคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสม 
  • การปรับปรุงเกณฑ์การเปิดเผยรายชื่อผู้ถือหุ้นในครอบคลุมถึงกรณีการถือในรูปแบบ NVDR ด้วยโดยกำหนดให้บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด (ในฐานะผู้ออก NVDR) จะต้องเปิดเผยรายชื่อผู้ถือ NVDR ตั้งแต่ 0.5% แต่ไม่น้อยกว่า10 ราย เช่นเดียวกับการเปิดเผยรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลผู้ที่มีการถือครอง NVDR และเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น 

นอกจากนี้ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังได้เห็นชอบให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เร่งดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวข้างต้นโดยเร็ว โดยเฉพาะในส่วนของมาตรการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถดำเนินการได้เอง แต่สำหรับในส่วนที่จำเป็นจะต้องมีการปรึกษาหารือในรายละเอียดร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง (เช่น บริษัทสมาชิก, Market Makers) รวมถึงอาจจะต้องมีการเตรียมความพร้อมและการปรับระบบปฏิบัติการของบริษัทสมาชิกเพื่อให้รองรับการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้เร่งประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป 

ทั้งนี้ หลังจากที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ในขั้นตอนต่อไป ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น (hearing) จากผู้เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งจะนำไปปรึกษาหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) อย่างใกล้ชิด ก่อนที่จะนำเสนอต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาอนุมัติ ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมายที่กำหนดไว้

LATEST NEWS

“Smarthome” สมาร์ทโฮมยืนหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับทุกครอบครัว

เมื่อพูดถึงแแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เชื่อว่าใครหลายๆ คน คงจะนึกถึงแบรนด์ “Smarthome” เป็น 1 ในคำตอบในใจอย่างแน่นอน ด้วยจุดเด่นของสินค้าที่แข็งแรง ทนทาน ดีไซน์ทันสมัยและราคาที่สามารถเข้าถึงได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับแบรนด์ “Smarthome” กันให้มากยิ่งขึ้น

บิ๊กดีลสะเทือนวงการ! กรุงศรีฟินโนเวตจับมืออีฟราสตรัคเจอร์ เปิดฉากลงทุนมหาศาลปั้นกองทุนใหม่หนุนสตาร์ทอัพรายเล็กก้าวกระโดด พร้อมเปิด Accelerator ติดอาวุธเร่งสปีดสร้างการเติบโต

กรุงศรี ฟินโนเวต ร่วมกับ อีฟราสตรัคเจอร์ (Efra Structure) ของ ป้อม ภาวุธ ผู้บุกเบิกและคร่ำหวอดในวงการอีคอมเมิร์ซไทย เตรียมปั้นกองทุนยักษ์ “ฟินโน อีฟรา ไพรเวท อิควิตตี้ ทรัสต์” (Finno Efra Private Equity Trust) มุ่งลงทุนในสตาร์ทอัพไทยและอาเซียน งบประมาณมหาศาลกว่า 1,300 ล้านบาท (หรือกว่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในระยะเวลา 4 ปี เผยเริ่มพูดคุยกับสตาร์ทอัพที่น่าสนใจแล้วราว 5-6 บริษัท พ่วงด้วยการเปิด Accelerator Program อย่างเป็นทางการ เพื่อปั้นสตาร์ทอัพระดับ Seed ถึง Pre-series A ให้เติบโตสู่ระดับ Series A ได้อย่างแข็งแกร่ง

SCB CIO มองตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวน เมื่อเข้าสู่โค้งสุดท้ายเลือกตั้งสหรัฐฯ พอร์ตหลักแนะหุ้นกลุ่มเทคฯ-สุขภาพ- สาธารณูปโภค-ทองคำ ส่วนพอร์ตเสริมสะสมเวียดนาม

SCB CIO มองตลาดหุ้นโลกจะมีความผันผวนเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากสถิติชี้ว่า ดัชนี VIX  จะเร่งตัวขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วง 4 เดือนสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ขณะที่สถิติในอดีตบ่งชี้ดัชนี S&P500 มีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงเดือนส.ค.- ก.ย. แนะกลยุทธ์ลงทุนในตลาดหุ้นเลือกหุ้นคุณภาพดีเติบโตสูงงบแข็งแกร่งยอดขายกำไรเติบโตยั่งยืนเช่นกลุ่มเทคโนโลยีพร้อมผสมผสานกับหุ้นกลุ่มที่มีความทนทานต่อภาวะตลาดผันผวนเช่นกลุ่มสาธารณูปโภค  สุขภาพและสินค้าจำเป็น พร้อมระวังลงทุนในหุ้นกลุ่มขนาดเล็กจากกำไรของกิจการของหุ้นขนาดเล็กค่อนข้างผันผวนและอิงกับเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นหลักซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ช่วงของการชะลอตัวลง สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง-สูง แนะลงทุนหุ้นเวียดนามจากดัชนีฯที่ได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจที่เติบโตต่อเนื่อง

RELATED