ธนาคารโลก(World Bank) ปรับประมาณการการเติบโต ของประเทศในแถบเอเชียตะวันออก อ้างเหตุผลว่าจีนกำลังซบเซา การค้าขายก็ชะลอลง และดอกเบี้ยที่ยังคงค้างอยู่ในระดับสูง
World Bank คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกจะเติบโต 5% ในปีนี้ ลดลงจาก 5.1% ที่ประมาณการณ์ไว้ในเดือน เมษายนที่ผ่านมา และสำหรับในปี 2024 ธนาคารโลกคาดว่า จะโตเหลือเพียง 4.5% จาก 4.8% ที่คาดไว้ตั้งแต่ 6 เดือนที่ผ่านมา
สำหรับประเทศจีน ถูกปรับคาดการณ์ลงด้วยสองเหตุผลหลักคือ ปัญหาปัจจัยเชิงโครงสร้างในระยะยาว ที่ยกระดับหนี้ของจีน และ วิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ประมาณการณ์ปีนี้ยังคงยึดค่าเดิมไว้ ที่ 5.1% แต่ไปปรับลดลงในปีหน้า เหลือ 4.4% จาก 4.8% ที่ประมาณไว้
อัตราเร่งในการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศในแถบเอเชียค่อนข้างเชื่องช้าแล้ว หลังจากฟื้นมาจากการล็อคดาวน์ในปี 2020
ผลเสียต่อการมีหนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ
World Bank ปักธง 3 ประเทศที่มีทั้งหนี้ภาครัฐบาลและภาคเอกชนสูง คือ จีน ไทย และ เวียดนาม
การมีหนี้ภาครัฐสูงทำให้การลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนถูกจำกัดด้วย
และยิ่งหนี้สูงขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น ซึ่งก็จะไปทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
ถ้าเกิดว่า หนี้ภาครัฐต่อ Gdp เพิ่มขึ้น 10% จะส่งผลให้การเติบโตของภาคการลงทุน(Investment) ลดลง 1.2%
เช่นเดียวกับ ถ้าเกิดว่า หนี้ภาคเอกชนต่อ Gdp เพิ่มขึ้น 10% ก็จะส่งผลให้ ภาคการลงทุนเติบโตลดลง 1.1%
นอกจากนั้น หนี้ครัวเรือนของ ประเทศจีน มาเลเซีย และ ไทย สูงกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ
หนี้ครัวเรือนสูง ส่งผลเชิงลบกับการบริโภค เนื่องจากรายได้จะถูกนำไปจ่ายหนี้บริการ นำไปสู่การใช้จ่ายลดลง (Spending)
ถ้าเกิดว่าหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น 10% การเติบโตของภาคการบริโภค(Consumption) ก็จะลดลงไป 0.4%
World Bank บอกอีกว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังต่ำกว่าก่อนเกิดโรคระบาด ในเอเชียแปซิฟิค
ในประเทศจีน แนวโน้มยอดค้าปลีกเบาบางกว่าก่อนเกิดวิกฤติโรคระบาดเนื่องจากการปรับตัวลงมาของราคาที่อยู่อาศัย การเพิ่มขึ้นที่ช้าลงของรายได้ผู้อยู่อาศัย การเก็บออมฉุกเฉินมากขึ้น และ หนี้ครัวเรือน หรือไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอกอื่นๆอย่างสังคมสูงวัยเป็นต้น
ที่มา : World Bank downgrades developing East Asia growth forecast (cnbc.com)